วันอังคารที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2555



      CHOCOLATE




ขนมหวานรสละมุนลิ้นอย่างช็อกโกแลตนั้น เป็นที่โปรดปรานของคนทุกเพศทุกวัย  มานานนับศตวรรษ เพราะนอกจากจะมีรสชาติหอมหวานกลมกล่อมที่ชวนให้เผลอใจหลงใหลจนยากที่จะถอนตัวแล้ว ช็อกโกแลตยังเป็นสื่อสากลที่คนทั่วโลกนิยมมอบให้กันเพื่อแสดงถึงมิตรภาพและความรัก โดยมีตำนานจารึกไว้ว่าในช่วงกลางศตวรรษที่ 11 กษัตริย์มองเตซูม่า(
Montezuma) ที่ 2 จักรพรรดิ์ของแคว้นแอสเท็กซ์ ประเทศเม็กซิโก นิยมดื่มช็อกโกแลตวันละ 50 ถ้วย เพื่อเยียวยาชีวิตรัก ทุกวันนี้ช็อกโกแลตจึงเป็นของขวัญที่ขาดไม่ได้ในวันวาเลนไทน์
  
     











     ถิ่นกำเนิดของโกโก้
             ช็อกโกแลตที่เราบริโภคกันอยู่ทุกวันนี้ ไม่ว่าจะเป็นรสชาติไหน หรือยี่ห้ออะไร ล้วนเป็นผลผลิตซึ่งมีโกโก้เป็นวัตถุดิบสำคัญทั้งสิ้น โกโก้ เป็นพืชยืนต้นที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในลุ่มน้ำอะเมซอน มานานกว่า 4000 ปีแล้ว โดยชาวมายาส์ของแคว้นยูคาฐาน และชาว       แอสเท็กซ์ของเม็กซิโกทำการเพาะปลูกพืชพื้นเมืองชนิดนี้มานาน
             อีกทั้งยังมีความเชื่อว่าโกโก้นั้นเป็นต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์ที่เทพยดาประทานมาให้ และด้วยเหตุนี้เองที่ทำให้ในเวลา   ต่อมาราวศตวรรษที่ 18 นักพฤกษศาสตร์ชาวสวีเดนที่ชื่อ ลินนีอุส ได้ตั้งชื่อทางวิทยาศาสตร์ของโกโก้ว่า ทีโอโบรมาคะคาโอ  ( Theobroma cacao) เพราะคำว่า ทีโอโบรมานั้นเป็นภาษากรีกซึ่งแปลว่า ภักษาหารของพระผู้เป็นเจ้า
             ในราชอาณาจักรแอสเท็กเมื่อราว 200 ปีก่อนคริสตกาล เมล็ดโกโก้เป็นสิ่งมีค่าและสามารถใช้แลกเปลี่ยนแทนเงินตราได้ นอกจากนั้น ชาวแอสเท็กซ์ ยังมีความเชื่อว่า โกโก้มีสรรพคุณในการรักษาโรคภัยไข้เจ็บเล็ก ๆ น้อย ๆ ด้วยแม้ว่า คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส จะเป็นชาวยุโรป คนแรกที่ค้นพบโกโก้โดยบังเอิญ เมื่อเขาเดินทางไปยังทวีปอเมริกาเป็นครั้งที่ 4 ในปี พ.ศ. 2045 แต่นักสำรวจผู้ยิ่งใหญ่ท่านนี้กลับไม่ได้ใส่ใจ กับผลไม้ที่มีรูปร่างเหมือนลูกรักบี้เลยแม้แต่น้อย จนกระทั่งอีก 2 ทศวรรษต่อมา เมื่อนายพลเออร์นานโด คอร์เทส นักสำรวจชาวสเปนสังเกตเห็นว่า จักรพรรดิ์แห่งแอสเท็กซ์ทรงโปรดปราน เครื่องดื่มพิเศษชนิดหนึ่งที่เรียกขานในภาษาฝรั่งเศสว่า โชโกลาต์ นั้นมีรสขมมาก แต่ก็สามารถทำให้ร่างกาย มีความรู้สึกกระปรี้กระเปร่าขึ้นอย่างน่าประหลาด
               นายพลคอร์เทสเป็นผู้นำเมล็ดโกโก้กลับไปถวายพระเจ้าชาร์ลสที่ 5  ซึ่งเป็นกษัตริย์แห่งสเปนในสมัยนั้น ก่อนที่โกโก้จะแพร่หลายไปในประเทศอื่น ๆ เช่น ทรินิแดด ไฮติ เกาะต่าง ๆ ทางแอฟริกาตะวันตกและหมู่เกาะเวสต์อินดีส รวมไปถึงประเทศฟิลิปปินส์ อินโดนีเซียและศรีลังกาในเวลาต่อมา




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น